ในอนาคตที่คนวัยทำงานตอนนี้จะกลายเป็นผู้สูงอายุ ที่อยู่อาศัยแบบไหนที่เหมาะกับสังคมยุคใหม่ และเทรนด์อสังหาฯ จะพัฒนาไปอย่างไร? เรามาดู 5 ทางเลือกที่อยู่อาศัยที่เราคัดมาแล้วว่ากำลังเติบโตในประเทศไทยไว้เป็นทางเลือกกัน จากสถานการณ์ในตอนนี้ ประเทศไทยได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ (Aged Society) แล้วในปี 2564 คือ เป็นสังคมที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุในช่วง 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศหรือประมาณ 13 ล้านคน และคาดว่าในปี 2583 หรืออีก 20 ปีข้างหน้าจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด หรือประมาณ 20 ล้านคน และมีผู้สูงอายุ 80 ปีขึ้นไปมากถึง 3.5 ล้านคน ประกอบกับอัตราการมีบุตรที่น้อยลง คนเป็นโสดมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุในยุคนี้ รวมถึงอนาคตข้างหน้า ซึ่งมีแนวโน้มที่จะอยู่ตัวคนเดียวในบั้นปลายชีวิตมากขึ้น เริ่มมองหาทางเลือกที่อยู่อาศัยในรูปแบบอื่น ๆ นอกจากการอยู่อาศัยในบ้านเดิมของตัวเอง เพื่อให้ตอบรับกับไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป
งานสัมมนาออนไลน์ The future of Wellness Real Estate
สำหรับคนที่อยากอัพเดทเทรนด์สุขภาพในวงการอสังหาฯ ที่อยู่อาศัย โรงแรม ห้ามพลาด! ซื้อบัตร Early Bird ภายในวันที่ 1 เมษายนนี้!
ดูรายละเอียด >> https://www.feasyonline.com/wellness2022
เมื่อเรานึกถึงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย เราก็มักจะถึงทางเลือกได้แค่ประมาณ 3 ประเภท ได้แก่ อยู่ในบ้านตัวเองต่อไป ไปอยู่บ้านพักคนชรา หรือ ซื้อบ้านและคอนโดผู้สูงอายุซึ่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการพ่วงเข้ามาด้วย แต่แท้จริงแล้วมีทางเลือกของที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุนับสิบประเภทเลยทีเดียว โครงการที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุหลายโครงการในประเทศไทยก็มีที่อยู่อาศัยมากกว่าประเภทเดียวอยู่ในนั้น เนื่องจากผู้สูงอายุแต่ละคนมีความต้องการต่างกัน ทางเลือกเหล่านี้จึงเหมาะสำหรับคนต่างกัน เช่น บางคนเป็นผู้สูงอายุที่โสด ไม่มีลูกหลาน ติดสังคม ดูแลตัวเองได้ อาจชอบไปอยู่คอนโดผู้สูงอายุมากกว่าอยู่บ้านตัวเอง หรือบางคนอาจต้องการการดูแลจากพยาบาล หรือ หมอเป็นครั้งคราวก็อาจต้องการทางเลือกอื่นเช่นกัน
จากข้อมูลของ SeniorLiving.org ได้แบ่งประเภทของที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุออกเป็น 15 ประเภทเลยทีเดียว โดยมี 2 ปัจจัยหลักที่ใช้ในการเปรียบเทียบทางเลือกที่อยู่อาศัยเหล่านี้ คือ ค่าใช้จ่าย และ ระดับการดูแล ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้สูงอายุต้องใช้ในการพิจารณาเลือกที่อยู่อาศัย เนื่องจากในวัยเกษียณ ผู้สูงอายุจะไม่มีรายได้จากงานประจำเข้ามาแล้ว จำเป็นต้องอยู่อาศัยด้วยเงินเก็บ หรือ รายได้ทางอื่น และยังต้องเก็บเงินเอาไว้รับความเสี่ยงด้านค่ารักษาพยาบาล อีกทั้งหากมีอายุขัยยาวนานก็ต้องใช้ค่าใช้จ่ายมากขึ้น ส่วนปัจจัยด้านระดับการดูแลนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าสุขภาพของผู้สูงอายุ ณ เวลานั้นเป็นอย่างไร หากสุขภาพแข็งแรงดี สามารถดูแลตัวเองได้ก็ไม่จำเป็นต้องมีคนดูแลมากนัก
ที่มาภาพ: Seniorliving.org
จากภาพด้านบนจะเห็นว่า ที่อยู่อาศัยหลายประเภทมีลักษณะคาบเกี่ยว หรือ คล้ายกัน แต่ก็มีจุดต่างด้านราคา หรือ ระดับการดูแลทำให้ถูกแยกเป็นคนละประเภทนั่นเอง วันนี้ Feasy จะพามาดู 5 ประเภทที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Senior Living) ซึ่งจะช่วยให้คุณเข้าใจว่าที่อยู่อาศัยแบบใด เหมาะสำหรับผู้สูงอายุแบบไหน
5 ประเภทที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ
-
Aging in place อยู่อาศัยในบ้านตัวเองต่อไป
-
Independent Living โครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงวัย
-
Residential care home ที่อยู่อาศัยเฉพาะผู้สูงอายุ
-
Nursing home สถานบริบาล
-
Continuing care retirement community (CCRC) ชุมชนคนเกษียณอายุที่มีระบบดูแลต่อเนื่อง
-
Aging in place หรือ การอยู่อาศัยในบ้านตัวเองต่อไป
คือการปรับที่อยู่อาศัยเดิมของตัวเองให้เหมาะกับผู้สูงอายุ โดยไม่ต้องย้ายบ้าน
เหมาะสำหรับ: ผู้สูงอายุที่ดูแลตัวเองได้และชอบอยู่บ้าน มีครอบครัว หรือ สังคมเพื่อนบ้านให้ไปมาหาสู่ หากต้องการการดูแลเป็นพิเศษสามารถเดินทางไปโรงพยาบาล หรือ ใช้บริการพิเศษที่เข้ามาดูแลถึงที่บ้านได้ (Health at Home)
สิ่งสำคัญ: บ้านสำหรับผู้สูงอายุควรจะได้รับการออกแบบ ปรับปรุงให้เหมาะสำหรับการใช้ชีวิต เช่น ย้ายห้องนอนมาอยู่ชั้นล่างเพื่อลดความเสี่ยงจากการเดินขึ้นบันได เพิ่มราวจับ พื้นกันลื่น ณ จุดต่าง ๆ ของบ้าน และ กล้องวงจรปิด เป็นต้น
ค่าใช้จ่าย: ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันทั่วไป และค่าปรับปรุงบ้านเพื่อให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุตามกำลังทรัพย์
-
Independent Living โครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงวัย
โครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงวัย หรือ บ้าน-คอนโดผู้สูงอายุ
เป็นโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุที่สามารถดูแลตัวเองได้ ส่วนใหญ่ระบุว่าผู้อยู่อาศัยต้องเป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 55 – 60 ปีขึ้นไป แต่ในบางโครงการก็อนุญาตให้คนทุกช่วงวัยซื้อสิทธิ์อยู่อาศัยได้เช่นกัน โดยมีรูปแบบที่อยู่อาศัยหลากหลาย บางโครงการอาจจะเป็นบ้าน คอนโดมิเนียม หรือ อะพาร์ตเมนต์ โดยผู้เข้าอยู่อาจซื้อสิทธิ์แบบกำหนดระยะเวลาเป็นปี หรือ ทำสัญญาเช่าตลอดชีพ ที่น่าสนใจคือ ปัจจุบันมีผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์หลายรายที่ได้พัฒนา ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงวัย Retirement Community ด้วยการจับมือกับโรงพยาบาล หรือ สถานบริบาล Nursing Home ต่าง ๆ เพื่อตอบรับดีมานด์ของผู้สูงอายุที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศไทย
เหมาะสำหรับ: ผู้สูงอายุที่ดูแลตัวเองได้ หรือต้องการความช่วยเหลือเล็กน้อย ต้องการเข้าสังคมทำกิจกรรมร่วมกับผู้สูงอายุอื่น ๆ เหมาะกับผู้สูงอายุที่ไม่มีลูกหลาน หรือไม่ได้อยู่ใกล้กับลูกหลาน การมาอยู่ใน Retirement Community ช่วยให้ผู้สูงอายุไม่ต้องมีภาระในการดูแลบ้าน สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบาย มีกิจกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุที่ครบครัน หากต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด บางโครงการจะมีบริการเสริมด้านการตรวจสุขภาพ พร้อมเจ้าหน้าที่ให้บริการอีกด้วย
ค่าใช้จ่าย: ปานกลาง
ขึ้นอยู่กับระดับโครงการที่เลือกซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้ประกอบการภาคเอกชนจะพัฒนาโครงการ สำหรับกลุ่มกำลังซื้อปานกลาง – สูง อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายมักยังไม่รวมค่าอาหารและค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันทั่วไป
อ่านเพิ่มเติม >> อัพเดทราคา 7 บ้าน-คอนโดผู้สูงอายุทั่วไทย ล่าสุดปี 2022!
-
ที่อยู่อาศัยเฉพาะผู้สูงอายุ Residential care home
เราน่าจะเคยได้ยินคำว่า Care Home และ Nursing Home กันมาบ้างแล้ว ที่อยู่อาศัยทั้งสองรูปแบบนี้มีลักษณะคล้ายกัน แต่จะต่างกันตรงที่ Nursing Home มีระดับการดูแลที่ใกล้ชิดจากแพทย์และพยาบาลเพิ่มขึ้นมา ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นนั่นเอง
เหมาะสำหรับ: Care Home เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลเบื้องต้นในกิจวัตรประจำวัน Activities of Daily Living (ADLs) เช่น การเดิน อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า เป็นต้น ผู้สูงอายุจะได้รับการดูแลโดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมบริการอาหาร และกิจกรรมต่าง ๆ
ค่าใช้จ่าย: ปานกลาง
ค่าบริการคิดเป็นรายวัน หรือ รายเดือน และมีค่าใช้จ่ายเสริมสำหรับการเดินทางไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล
-
Nursing home สถานบริบาล
เหมาะสำหรับ: ผู้สูงอายุที่ต้องการบริการทางการแพทย์ การดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์และพยาบาล ในบางที่จะมีผู้ดูแลที่เฉพาะทางสำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ด้วย ผู้สูงอายุจะได้รับการดูอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งในด้านอาหาร และกิจกรรม
ค่าใช้จ่าย: สูง
คิดค่าบริการเป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือ รายเดือน ขึ้นอยู่กับรูปแบบห้องและบริการที่เลือก
-
ชุมชนคนเกษียณอายุที่มีระบบดูแลต่อเนื่อง Continuing care retirement community (CCRC)
โครงการในรูปแบบนี้ คือ โครงการขนาดใหญ่ที่มีทั้ง ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุที่ดูแลตัวเองได้ (Retirement Community) ที่อยู่อาศัยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแล 24 ชั่วโมง (Residential care home) รวมไปถึงสถานบริบาล (Nursing home) ที่มีพยาบาลและแพทย์คอยดูแลอย่างใกล้ชิด
เหมาะสำหรับ: ผู้สูงอายุที่ต้องการจะจ่ายเงินเพื่ออยู่อาศัยในโครงการเดิมตลอดชีพ ในช่วงที่ดูแลตัวเองได้อาจอยู่ในส่วน Retirement Community และหากเจ็บป่วย ต้องการการดูแลก็สามารถย้ายไปอยู่ที่ Care home หรือ Nursing home ตามแต่ระดับการดูแลที่จำเป็นต้องได้รับ ข้อดีของโครงการใหญ่ คือ มีสิ่งอำนวยความสะดวก และกิจกรรมมากมาย
ค่าใช้จ่าย: ปานกลาง – สูง ขึ้นอยู่กับแพคเกจที่เลือก
ในประเทศไทยก็มีหลายโครงการในรูปแบบนี้ซึ่งมักเป็นโครงการที่พัฒนาโดยโรงพยาบาล หรือ เป็นการร่วมมือกันระหว่างโรงพยาบาลกับหน่วยงานอื่น ๆ เช่น Senior Complex ที่พักผู้สูงอายุ รามา-ธนารักษ์ ซึ่งมีราคาเริ่มต้นที่ 1.82 ล้านบาท หรือ โครงการ Jin Wellbeing County
5 ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Senior Living) นี้คือ 5 ประเภทที่อยู่อาศัยที่เราคัดมาเปรียบเทียบให้คุณได้เห็นชัด ๆ ว่าตอบโจทย์ผู้สูงอายุต่างกันอย่างไร ทั้งนี้เป็นที่น่าจับตามองว่านักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หลายรายได้ก้าวเข้ามาพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุมากขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบรับความต้องการ และไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนยุคนี้ที่เปลี่ยนไปจากเดิม ได้แก่ โครงการบ้านผู้สูงอายุ คอนโดผู้สูงอายุ ที่ขายสิทธิ์การอยู่อาศัยเหมือนการเซ้ง 30 ปี แทนการซื้อขาด เนื่องจากคนยุคใหม่เริ่มนิยมเช่าบ้าน มากกว่าซื้อ อาจเป็นเพราะหลายคนไม่มีทายาทให้ส่งต่อมรดก และการเช่าสิทธิ์สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ จึงเป็นที่น่าจับตามองว่าจะมีโครงการใหม่ๆ อะไรบ้างที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง บริษัทพัฒนาอสังหาฯ สถานบริบาล (Nursing Home) และโรงพยาบาล ที่ให้เกิดผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ๆ ขึ้นมามากมาย เช่น โครงการ Health at Home ที่ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถรับบริการตรวจสุขภาพที่บ้านได้ หรือ บริการเดินทางรับส่งผู้สูงอายุไปโรงพยาบาลหรือสถานที่ต่าง ๆ ที่จะตอบโจทย์คนในยุคนี้มากขึ้น
อยากฟังแนวคิด การพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ห้ามพลาด!
สัมมนาออนไลน์: รวมเทรนด์สุขภาพมาแรง สำหรับที่อยู่อาศัย-โรงแรม ยุค New Normal
The Future of Wellness Real Estate
6 พฤษภาคมนี้ 8.30 - 18.00 น.
Online ผ่าน Facebook Private Group
ดูรายละเอียด https://www.feasyonline.com/wellness2022
พบกับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญชั้นนำ
ด้านสุขภาพ ที่อยู่อาศัย โรงแรม โรงพยาบาลหลากหลายท่าน
มาเจาะแนวคิดการผสาน Wellness ในวงการอสังหาฯ
- TRENDS การเปลี่ยนแปลงของที่อยู่อาศัยหลังยุคโควิด และเทรนด์การพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ
- SUCCESS CASES เจาะแนวคิดการพัฒนาบริการและ ที่อยู่อาศัยเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีแบบองค์รวม
- SMART SOLUTIONS อัพเดทเทคโนโลยีใหม่ ที่จะเข้ามามีบทบาทต่อการอยู่อาศัยในยุคนี้
งานนี้เหมาะกับใคร?
- นักพัฒนาอสังหาฯ ที่กำลังมองหาตลาดด้านสุขภาพสำหรับทุกช่วงวัย รวมถึงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ
- ผู้บริหารโรงแรม อะพาร์ตเมนต์ ที่กำลังมองหาตลาดกลุ่มผู้สูงอายุ และสุขภาพแบบองค์รวม
- ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ ที่มองหาโอกาสร่วมกับธุรกิจอสังหาฯ เพื่อตอบรับไลฟ์สไตล์ใหม่ ๆ
ด่วน! ราคาพิเศษ
ซื้อบัตร Early Bird Ticket เพียง 900 บาท/ท่าน
หรือ Early Bird Group Ticket เพียง 4500 บาท/6 ท่าน
ภายในวันที่ 1 เมษายนนี้!
ดูรายละเอียด >> https://www.feasyonline.com/wellness2022
#WellnessRealEstate #Wellness
References
https://www.consumeraffairs.com/health/senior-living-options.html
https://dailycaring.com/senior-housing-options-overview/
https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1512636145-109_4.pdfฃ
https://www.thaipost.net/main/detail/103356