loading
ลงทะเบียนนัด DEMO ออนไลน์
กทม.จนมุม‘ภาษีที่ดิน’ โยกไปปีหน้า 3 ล้านแปลง สำรวจไม่ทัน
: 18 กันยายน 2563 | :

กทม.อ่วมภาษีที่ดิน ยอมรับ 2-3 ล้านแปลง สำรวจไม่ทัน ปล่อยผีเจ้าของรายย่อย โยกไปปี 64 รีดทุกเม็ด ทุนใหญ่ กรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่นย้ำ ใครไม่ได้ใบประเมินแจ้งชำระภาษี ไม่ต้องตกใจ! 

 

ปริมาณที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในเขตกรุงเทพมหานครมีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาประเมินว่า อาจมีมากกว่า 3 ล้านแปลงบวก-ลบ  เนื่องจาก มีทั้งการไล่ซื้อตึกยุบรวมแปลง  ของนายทุน และแตกแขนง  พัฒนาเป็นคอนโดมิเนียม โรงแรม สูงใหญ่มีจำนวนหน่วย ห้องพักย่อยๆ จำนวนมาก นี่คือผลกระทบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น อย่างกทม.ต้องเผชิญทางออกต้องปล่อยไปยังปีงบประมาณ 2564  ทั้งนี้ คาดว่าจะครอบคลุมขึ้นบัญชีเกือบทั้งหมด ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี เช่นเดียวกับ ที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่ไม่ทำประโยชน์ ก่อนหน้านี้ได้เคยสำรวจ เพื่อจัดทำผังเมืองรวมกทม.ฉบับใหม่ ซึ่งปัจจุบันในฐานะที่ดินที่ต้องเรียกเก็บภาษี ยังไม่สำรวจครบทุกแปลงดังกล่าวต้องปล่อยให้แต่ละเขต ดำเนินการ

ทั้งนี้แต่ละแปลงอาจ ปรับเป็นพื้นที่เกษตร ลดทอนภาษี หรือได้รับผ่อนปรนไม่เสียภาษีเลย (บุคคล) 3 ปี นับจากปี 2563 แล้วก็ตาม แต่หาก สำรวจในปีถัดไปแล้วพบว่า ที่ดินเกษตรกลับปล่อยให้มีหญ้าขึ้นรก ต้นไม้ล้มตายจะอยู่ในข่าย ที่รกร้างเสียภาษี 0.3%  แหล่งข่าวจากกทม. ยอมรับว่า มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอีกจำนวนมากที่ยังสำรวจไม่ทันต้องชะลอสำรวจและเรียกเสียภาษีในปีถัดไป ซึ่งกทม.ไม่กังวลเนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ และต้องดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อความถูกต้องแม่นยำ อย่างไรก็ตาม ได้พุ่งเป้าไปที่กลุ่มนักลงทุน ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจมากกว่า เนื่องจาก มีความชัดเจนสามารถประเมินได้ที่สำคัญมีมูลค่าสูงที่กทม.จะมีรายได้เข้ามา อย่างโรงแรม ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า โรงงาน ร้านค้าพาณิชยกรรม รวมถึงคอนโดมิเนียมที่มีขนาดใหญ่ จากนั้นค่อยเรียกเก็บภาษี  เจ้าของที่ดินรายย่อยๆ

 ขณะพื้นที่ ศูนย์กลางธุรกิจ ใหม่ ที่ขยายมาจาก สุขุมวิท  อย่าง รัชดา-พระราม9 แหล่งข่าวจาก สำนักงานเขตห้วยขวาง  ยอมรับว่าสำรวจไม่ครบทุกแปลง แต่มุ่งเน้นที่ดินแปลงใหญ่เจ้าของกิจการ ส่วนที่ดินซึ่งเป็นสวนมะนาว  ที่ดินแปลงรัชดาฯ-พระราม 9   มองว่า เป็นกระแสค่อนข้างดังและเป็นที่ดินใจกลางเมือง แต่เมื่อเจ้าของที่ดินทำเป็นแปลงเกษตรก็ต้องเรียกเก็บในอัตราเกษตร แต่หากระบุชื่อในนามบุคคลก็ต้องยกเว้นจัดเก็บไป 3 ปี (63-65) แต่เข้าใจว่าที่ดินทั้งสองแปลง 50 ไร่ ถือในนาม บริษัทแหลมทองค้าสัตว์ แต่เนื่องจากเขตห้วยขวางมีปริมาณคอนโดมิเนียม อาคารสำนักงาน เกิดขึ้นมากยอมรับว่า รายได้มาจากสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว แต่ลดหย่อนแล้ว เหลือจัดเก็บภาษีเพียง 10% ทำให้รายได้หายไปจำนวนมาก

สอดคล้องกับสำนักงานเขตธนบุรี มีปริมาณสิ่งปลูกสร้าง   ที่ดิน 11,000 แปลง สิ่งปลูกสร้าง กว่า 10,000 หน่วย ซึ่งยอมรับว่า ยังมีความวุ่นวายสูง เนื่องจาก สำรวจไม่ทันหลายแปลง หลายอาคาร ต้องโยกไปปีถัดไปที่สำคัญ กรณีที่เขตออกใบประเมินแจ้งเสียภาษีไปแล้ว กลับมามีปัญหาว่า ใบแจ้งราคาประเมิน  กับตัวผู้เสียภาษีอยู่คนละที่กันเช่นเดียวกับ สำนักงานเขตคลองสาน ย่านฝั่งธนบุรีเช่นเดียวกัน มองว่า ปัจุบันความเจริญเข้าพื้นที่ จากรถไฟฟ้า และ เมืองขยายมายังฝั่งธนบุรี ส่งผลให้มีคอนโดมิเนียม โรงแรม ห้างสรรพสินค้าเกิดขึ้นมาก ตลอดจนราคาประเมิน ปรับสูงขึ้นมาก  จากหลักหมื่นขยับเป็นหลักแสน 

 

แหล่งข่าวจาก กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สะท้อนว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตามต่างจังหวัด บางแห่งสำรวจและออกใบแจ้งราคาประเมินเพื่อชำระภาษีครบแล้ว  เนื่องจากเป็นจังหวัดเล็กมีสิ่งปลูกสร้างไม่หนาแน่นเหมือนกทม.

               

 

 

 

หน้า 19-20 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40  ฉบับที่ 3,610 วันที่ 17 - 19 กันยายน พ.ศ. 2563

  

เว็บไซต์อ้างอิง : https://www.thansettakij.com/content/property/449460?as&fbclid=IwAR2J41QH1dO-flSQsrsTuubA_ioO6QXnE2eVwpe0mCsmxDul78mcKIa6jEA
ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE @FEASY

เรื่องน่าสนใจ