loading
ลงทะเบียนนัด DEMO ออนไลน์
12 ข้อต้องตรวจสอบเอกสารสิทธิ โฉนดที่ดิน สำหรับนายหน้าและนักลงทุน ก่อนซื้อ-เช่าที่ดิน
: 27 พฤษภาคม 2563 | :

            ราคาที่ดินก็แพงขึ้นเรื่อย ๆ จะซื้อทั้งทีต้องลงทุนเยอะ แต่สภาพคล่องต่ำ ก่อนจะซื้อที่ดินสักแปลงเราจึงต้องตรวจสอบศักยภาพของที่ดินก่อนว่าคุ้มค่ากับราคาหรือไม่ เพราะบางครั้งที่ดินที่เรามองว่าสวย ทำเลดี อาจไม่ได้มีมูลค่ามากอย่างที่ตั้งราคาขายไว้ หรือ ที่ดินบางที่อาจจะดูไม่ดีนักแต่เราสามารถนำไปพัฒนาให้มีมูลค่าสูงได้ เพราะเป็นที่ดินที่มีศักยภาพสูงนั่นเอง วันนี้ Feasy โปรแกรมวางแผนการลงทุนอสังหาฯ ออนไลน์ จะมาสรุปสิ่งที่เราต้องเช็คก่อนซื้อที่ดิน จะได้ไม่พลาดนั่นเอง

  1. ตำแหน่งที่ดิน

อย่างแรกที่เราต้องตรวจสอบคือ ตำแหน่งและรูปร่างของที่ดิน วิธีการตรวจสอบ ได้แก่ การดูขอบเขตที่ดินผ่านเว็บไซต์ของกรมที่ดิน ดูลักษณะที่ดินผ่าน Google maps หรือการลงพื้นที่ไปสำรวจที่ดินด้วยตัวเอง ไม่ว่าอย่างไรก็ตามคุณต้องรู้ตำแหน่งที่ถูกต้อง และ รูปร่างที่ดิน ซึ่งมีผลต่อศักยภาพการพัฒนาอาคาร เพราะรูปร่างที่ดินที่มีมุมมาก หรือ แคบจนเกินไป ก็จะพัฒนาอาคารได้ยาก

 

  1. ทางเข้าออก ติดถนนสาธารณะ หรือ ถนนส่วนบุคคล

ขั้นตอนต่อไปเราต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าที่ดินของเรามีทางเข้าออกถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งวิธีนี้อาจดูด้วยตาเปล่าอย่างเดียวไม่ได้ ต้องตรวจสอบเขตทางผ่านเว็บไซต์ของราชการ เพราะ ที่ดินบางทำเลอาจดูเหมือนมีทางเข้าออกทีรถและคนสามารถใช้ได้แต่ตามกฎหมายถนนนั้นเป็นที่ดินของบุคคลอื่น ทำให้เราไม่มีสิทธิใช้ได้ เป็นต้น หากที่ดินของเราติดถนน เราต้องตรวจสอบด้วยว่าเป็นถนนสาธารณะ หรือ ถนนส่วนบุคคล เพราะมีผลต่อศักยภาพการพัฒนาอาคารเช่นกัน

 

  1. สีผังเมือง บอกศักยภาพการพัฒนาอาคาร และประเภทอาคารที่สร้างได้

สีผังเมืองในแต่ละพื้นที่จะแต่งต่างกัน เพื่อควบคุมการขยายตัวของเมือง แต่ละพื้นที่จึงมีศักยภาพในการพัฒนาอาคารต่างกันนั่นเอง ที่ดินใจกลางเมือง หรือที่ดินตามแนวรถไฟฟ้ามักจะมีศักยภาพตามสีผังเมืองที่สูงกว่าที่ดินเขตนอกเมือง หมายความว่าจะสามารถพัฒนาอาคารได้ขนาดใหญ่กว่าแม้มีที่ดินขนาดเท่ากัน และสามารถพัฒนาอาคารประเภทพาณิชยกรรมได้โดยมีเงื่อนไขน้อยกว่า เช่น หากเรามีที่ดินขนาด 2 ไร่

กรณีที่ 1

ที่ดินตั้งอยู่ในพื้นที่สีแดง พ.3 ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม มี FAR 7 และ OSR 4.5% จะพัฒนาอาคารได้สูงสุด 22,400 ตร.ม. (ตามข้อกำหนด FAR) โดยต้องมีพื้นที่ว่างรอบอาคารเพียง 144 ตร.ม. จากพื้นที่ดิน 1,600 ตร.ม. และสามารถพัฒนาอาคารได้หลากหลายประเภท

สีผังเมือง FAR OSR 

กรณีที่ 2

ที่ดินตั้งอยู่ห่างออกไปเพียง 10 เมตร แต่ไปตกอยู่ในพื้นที่สีเหลือง ย.3 ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย FAR 2.5  และ OSR 12.5% จะสามารถพัฒนาอาคารได้สูงสุด 8,000 ตร.ม. (ตามข้อกำหนด FAR) โดยต้องมีพื้นที่ว่างรอบอาคาร 400 ตร.ม. เท่ากับว่าพัฒนาอาคารได้ขนาดเล็กลง อีกทั้งยังไม่สามารถมารถพัฒนาอาคารบางประเภท หรือ ต้องพัฒนาภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ เช่น สร้างอาคารพานิชยกรรมขนาดตั้งแต่ 1,000 ตร.ม. ขึ้นไปไม่ได้ เป็นต้น

สีผังเมือง FAR OSR

 

จาก 2 กรณีข้างต้นจะเห็นว่า ศักยภาพการพัฒนาของที่ดินจะต่างกันอย่างมากหากอยู่บนพื้นที่สีผังเมืองคนละสีกัน แม้ที่ตั้งจะห่างกันเพียงเล็กน้อยก็ตาม หากคุณต้องการตรวจสอบสีผังเมืองง่าย ๆ Feasy ได้รวบรวมสีผังเมือง 21 จังหวัดพร้อมระบุข้อมูล FAR, OSR มาไว้บนแผนที่
สมัครสมาชิก ตรวจสอบสีผังเมืองฟรี ที่นี่

 

ดูเพิ่มเติม
อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio: FAR) คืออะไร? อัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม (Open Space Ratio: OSR) คืออะไร?

 

  1. การเวนคืนที่ผ่านและในอนาคต

ก่อนซื้อที่ดินควรตรวจสอบว่าจะมีการเวนคืนที่ส่งผลกระทบกับที่ดินของเราหรือไม่ Feasy ได้รวบรวมข้อมูลแนวเวนคืนใน 21 จังหวัด และลิงค์เอกสารราชการมาไว้บนแผนที่เพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงได้ง่าย ๆ

แนวเวนคืน

 สมัครสมาชิก ตรวจสอบแนวเวนคืนใน 21 จังหวัดฟรี ที่นี่ 

 

  1. พื้นที่ห้ามก่อสร้าง

คล้ายกับการตรวจสอบแนวเวนคืน ในแต่ละพื้นที่อาจมีประกาศกระทรวงมหาดไทย ที่จะกำหนดว่าห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท เช่น พื้นที่รอบท่าอากาศยานจะมีข้อกำหนดว่าในระยะใกล้ๆ เช่น ระยะ 300 เมตรจากแนวเขตที่ดินของสนามบินไม่สามารถสร้างอาคารที่มีความสูงเกิน 12 เมตร ห้องแถวหรือตึกแถว เป็นต้น ในขณะที่ระยะที่ไกลออกไปก็จะปรับข้อกำหนดต่าง ๆ กันไป ก่อนการซื้อที่ดินจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าจะสามารถพัฒนาอาคารได้ตามที่เราวางแผนไว้ Feasy ได้รวบรวมพื้นที่ห้ามก่อสร้าง 21 จังหวัดไว้เพื่อให้คุณตรวจสอบข้อมูลได้ง่ายขึ้นพื้นที่ห้ามก่อสร้าง

 สมัครสมาชิก ตรวจสอบพื้นที่ห้ามก่อสร้างใน 21 จังหวัดฟรี ที่นี่ 

 

      เมื่อเราเห็นศักยภาพของที่ดิน และต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อตัดสินใจ ซื้อ-ขายที่ดิน ต้องตรวจสอบ จากการคัดโฉนด ที่สำนักงานที่ดิน ซึ่งคุณจะทราบข้อมูลเพิ่มเติม ได้แก่

 

  1. ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์

ด้านหลังโฉนดที่ดินจะมีชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินอยู่

  1. การจดจำนอง (ถ้ามี)

ด้านหลังโฉนดที่ดินจะแสดงข้อมูลนิติกรรมที่เกี่ยวข้องกับที่ดินนั้น หากติดจำนองกับธนาคารอยู่ก็จะสามารถตรวจสอบได้

  1. การรอนสิทธิ์

ได้แก่ ภาระจำยอม สัญญาเช่า ที่ดินใต้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลอย่างมากต่อมูลค่า ราคาทีดิน เพราะทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่นั่นเอง

  1. หากที่ดินของคุณอยู่ในพื้นที่หมิ่นเหม่
    เช่น อาจครอบคลุมสีผังเมือง 2 สี หรืออยู่ใกล้กับแนวเวนคืนมาก ทำให้คุณไม่มั่นใจว่าที่ดินอยู่ในแนวเขตสีผังเมือง แนวเวนคืน พื้นที่ห้ามก่อสร้างใด ก็ควรส่งเอกสารตรวจสอบกับกรมที่ดินเพื่อความมั่นใจ

  2. ตรวจสอบว่าโฉนดเป็นของจริงหรือไม่

ในบางกรณีเจ้าของที่ดินอาจนำโฉนดที่ดินฉบับที่ถูกที่ถูกยกเลิกแล้วมาขาย หากเราซื้อที่ดินผืนนั้นไปอาจไม่ได้ตามที่ตกลงไว้ จึงต้องตรวจสอบว่าโฉนดที่ดินในมือเป็นของจริงหรือปลอม

  1. ที่ดินถูกอายัด
    หากที่ดินถูกอายัด จะไม่สามารถทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินได้ คือ ไม่สามารถซื้อ ขาย โอนที่ดินได้ สามารถตรวจสอบได้จากกรมที่ดิน

  2. เรื่องที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ
    เช่น การพิจารณาเพิกถอนโฉนด อยู่ระหว่างการแก้ไขรายการจดทะเบียนสิทธิ หรือ อยู่ระหว่างการรังวัดแบ่งแยกที่ดิน เป็นต้น เพราะจะมีผลต่อที่ดินนั้นโดนตรง ควรตรวจสอบและติดตามการดำเนินการต่าง ๆ ให้แล้วเสร็จ

 

       ก่อนซื้อ-เช่าที่ดินมีหลายข้อที่ต้องตรวจสอบให้มั่นใจ จะได้ไม่โดนหลอก ทำให้เราสามารถพัฒนาพื้นที่ได้เต็มศักยภาพของที่ดิน Feasy โปรแกรมวิเคราะห์การลงทุนอสังหาฯ มีเป้าหมายที่จะช่วยนักลงทุนอสังหาฯ ลดความเสี่ยงและโอกาสในการลงทุน เราจึงพัฒนาฟีเจอร์ต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์นายหน้า เจ้าของที่ดิน นักลงทุนทั้งรายเล็กและรายใหญ่ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ครบ จบในที่เดียว

 

สมัครใช้งานฟรี! ตรวจสอบสีผังเมือง แนวเวนคืน พื้นที่ห้ามก่อสร้างทันที

 

Keyword: ที่ดิน, ซื้อที่ดิน, ราคาที่ดิน, ผังเมือง, แนวเวนคืน, พื้นที่ห้ามก่อสร้าง

Writer
คุณน้ำทิพย์ พรโชคชัย
นักประเมินค่าทรัพย์สินระดับชั้นสามัญ MD, Area Research ผู้พัฒนา Feasy โปรแกรมวิเคราะห์การลงทุนอสังหาฯ
ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE @FEASY

เรื่องน่าสนใจ
กฎหมายอสังหาฯ